ที่บ้านมีกะเขาต้นนึง เดินผ่านไปผ่านมาทุกวันไม่ค่อยได้สนใจ ไม่เคยหยุดและมองมันให้ลึกขึ้น แล้ววันหนึ่งไม่รู้คิดยังงัยไปยืนดูให้นานๆหน่อยสิ มองไปมองมาอ้าว มันก็สวยเหมือนกันนี่หน่า จัดเลยรีบหากล้องมาถ่ายดูสิ ผลออกมาก็เป็นอย่างนี้ ผมว่าหากเรามองเห็นอะไรทุกสิ่งอย่าง เพียงแค่หยุดและคิด ใช้เวลายืนดูของสิ่งนั้น สิ่งๆนั้น ให้นานขึ้นอีกนิด เราจะเห็นความสวยของสิ่งๆนั้น
จริงๆแล้ว ชื่อเดิมของมันคือ
มะม่วงไม่รู้หาว มะนาวไม่รู้โห่ พันธุ์ไม้ชื่อแปลกนี้ มีที่มาจากการที่นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ได้เรียกชื่อผลไม้ชนิดดังกล่าว ให้สอดคล้องกับผลไม้ในวรรณคดีไทย เรื่องนางสิบสอง ตอน พระรถเมรี ที่ในเรื่องได้กล่าวถึงผลไม้สดชนิดหนึ่ง ซึ่งมีรสชาติเปรี้ยวจัด จนทำให้ผู้ที่กำลังง่วงนอน เมื่อรับประทานผลไม้ชนิดนี้เข้าไปแล้ว จะรู้สึกกระชุ่มกระชวยและตื่นตัวขึ้นมาทันที
เรามาดูที่ดอกของมันก่อน ดอกของมันจะเป็นสีขาว ก้านสีแดง มีขนาดเล็ก
ดูแล้วสดชื่น
ลักษณะของมันเป็นไม้พุ่มรอเลื้อย หรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงถึง 5 เมตร มียางขาว ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปขอบขนาน หรือรูปไข่ กว้าง 1.5-4 เซนติเมตร ยาว 3-7 เซนติเมตร ปลายมนหรือเว้าบุ๋ม ดอกออกเป็นช่อ ยาวประมาณ 3.5-5.5 เซนติเมตร กลีบดอกสีขาว หรือสีชมพู โคนเชื่อมเป็นหลอด ยาว 16-21.5 มิลลิเมตร ปลายแยกเป็นแฉก ผลรูปไข่ กว้าง 12-17 มิลลิเมตร ยาว 15-23 มิลลิเมตร สีแดง ชมพู หรือดำ
ลูกของมัน แรกๆจะเป็นสีขาว พอเริ่มสุกหน่อยจะมีสีแดงเหลื่อมๆขึ้นมา หากสุกเต็มที่จะมีสีแดงสดทั้งลูก และพอเริ่มแก่จะเป็นสีดำ
เริ่มมีสีแดงเหลื่อมๆ
ลูกที่มันเริ่มแก่ จะเป็นสีดำ โดยปกติแล้ว นิยมขยายพันธุ์พืชมะม่วงหาวมะนาวโห่ด้วยเมล็ด ซึ่งเมล็ดของพืชชนิดนี้มีอายุการเก็บรักษาที่สั้น ดังนั้นหลังจากแยกเมล็ดออกจากผลแล้วจึงควรเพาะพันธุ์เมล็ดทันที ซึ่งการเพาะปลูกนิยมทำในโรงเรือนช่วงเดือนสิงหาคม และทำการย้ายปลูกเมื่อต้นกล้าอายุได้ 1 ปี
สุกเต็มที่แล้ว จะเป็นสีแดงทั้งลูก
มะม่วงหาวมะนาวโห่ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Carissa Carandas เป็นพืชที่สามารถเก็บเกี่ยวผลได้ตลอดทั้งปี โดยมีลำต้นสูงประมาณ 2 – 3 เมตร แต่สามารถสูงได้มากที่สุดถึง 5 เมตร ลำต้นมียางขาว เปลือกสีเทา เป็นพืชที่มีกิ่งอยู่เป็นจำนวนมาก และมีกิ่งแข็ง เป็นพืชมีหนาม เป็นพืชใบเดี่ยว พืชชนิดนี้เป็นผลไม้ที่มีเนื้อสด เนื้อนุ่มรับประทานได้ เป็นผลไม้ที่มีเปลือกแข็ง ลักษณะเป็นรูปไข่ ผลอ่อนจะมีลักษณะเป็นสีชมพู และค่อย ๆ เข้มขึ้นเป็นสีแดง จนกลายเป็นสีดำเมื่อสุกเต็มที่ มีรสชาติเปรี้ยว
ผลของมันจะมีรสชาติ เปรี้ยว จนถึง เปรี้ยวมาก เรียกว่า เปรี้ยวจี๊ดดีกว่า พูดห้วนๆหน่อย ก็ โครตเปรี้ยว เเต่ในความเปรี้ยวของมันกลับมีสรรพคุณทางยาสมุนไพร รักษาโรคได้หลากหลาย ผม copy เขามาให้อ่านด้วย
ประโยชน์ของมะม่วงหาวมะนาวโห่
- มะม่วงหาวมะนาวโห่มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยในการชะลอวัยและริ้วรอย (ผล)
- ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง (แก่น)
- แก้อาการอ่อนเพลีย เมื่อยล้า (เนื้อไม้)
- เพิ่มความกระชุ่มกระชวยให้กับร่างกาย (ผล)
- ช่วยให้เจริญอาหาร (ราก)
- มีส่วนช่วยลดความอ้วน (ผล)
- ช่วยขยายหลอดเลือดป้องกันการเกิดโรคหัวใจ (ผล)
- มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง (ผล)
- ธาตุเหล็กในผลมีส่วนช่วยรักษาโรคเบาหวาน (ผล)
- มีส่วนช่วยรักษาโรคโลหิตจาง (ผล)
- ช่วยรักษาโรคปอด (ผล)
- ช่วยรักษาโรคถุงลมโป่งพองจากการสูบบุหรี่ได้ดีมาก (ผล)
- ช่วยรักษาโรคไต (ผล)
- บรรเทาอาการของโรคตับ อย่างโรคตับแข็ง (ผล)
- ช่วยรักษาโรคเกาต์ (ผล)
- ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคไทรอยด์ (ผล)
- ช่วยป้องกันโรคไหลตาย (ผล)
- ในบังคลาเทศใช้ใบรักษาโรคลมชัก (ใบ)
- มีส่วนช่วยบรรเทาอาการของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต มือเท้าชา (ผล)
- ช่วยบำรุงกำลัง (เนื้อไม้)
- ช่วยบำรุงธาตุ (ราก, แก่น, เนื้อไม้)
- ช่วยบำรุงไขมันในร่างกาย (แก่น, เนื้อไม้)
- ช่วยแก้ไข้ รวมถึงไข้มาลาเลีย (ราก, ใบ)
- ช่วยดับพิษร้อน (ราก)
- ช่วยบรรเทาอาการของโรคภูมิแพ้ (ผล)
- ช่วยแก้และบรรเทาอาการไอ (ผล)
- ช่วยขับเสมหะ (ผล)
- มีส่วนช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ ไมเกรน
- แก้อาการเจ็บคอ เจ็บในปาก (ใบ)
- แก้อาการปวดหู (ใบ)
- ช่วยรักษาลักปิดลักเปิดหรือโรคเลือดออกตามไรฟัน สมานแผลในช่องปาก (ผล)
- ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร (ราก)
- แก้อาการท้องเสีย (ใบ)
- ช่วยรักษาโรคบิด (ใบ)
- ช่วยขับปัสสาวะ (ผล)
- ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร (ยอดอ่อน)
- ช่วยขับพยาธิ (ราก)
- ช่วยรักษาโรคเท้าช้าง (น้ำยาง)
- ช่วยฆ่าเชื้อ (ผล)
- ผลสุกใช้ในการสมานแผล (ผล, ยาง)
- ใช้รักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง (เปลือกต้น)
- ช่วยแก้อาการคัน (ราก)
- ในอินเดียใช้รากเพื่อรักษาแผลเบาหวาน (ราก)
- แก้กลากเกลื้อน (เมล็ด, น้ำยาง)
- แก้อาการเนื้อหนังชาในโรคเรื้อน (เมล็ด)
- ช่วยรักษาแผลเนื้องอก (น้ำยาง)
- ช่วยรักษาหูด (น้ำยาง)
- ช่วยทำลายตาปลาและช่วยกัดทำลายเนื้อที่ด้านเป็นปุ่มโต (น้ำยาง)
- ใช้พอกดับพิษ (ผล)
- ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามข้อ (ผล)