จริงๆแล้ว ชื่อเดิมของมันคือ มะม่วงไม่รู้หาว มะนาวไม่รู้โห่ พันธุ์ไม้ชื่อแปลกนี้ มีที่มาจากการที่นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ได้เรียกชื่อผลไม้ชนิดดังกล่าว ให้สอดคล้องกับผลไม้ในวรรณคดีไทย เรื่องนางสิบสอง ตอน พระรถเมรี ที่ในเรื่องได้กล่าวถึงผลไม้สดชนิดหนึ่ง ซึ่งมีรสชาติเปรี้ยวจัด จนทำให้ผู้ที่กำลังง่วงนอน เมื่อรับประทานผลไม้ชนิดนี้เข้าไปแล้ว จะรู้สึกกระชุ่มกระชวยและตื่นตัวขึ้นมาทันที
เรามาดูที่ดอกของมันก่อน ดอกของมันจะเป็นสีขาว ก้านสีแดง มีขนาดเล็ก
ดูแล้วสดชื่น
ลักษณะของมันเป็นไม้พุ่มรอเลื้อย หรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงถึง 5 เมตร มียางขาว ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปขอบขนาน หรือรูปไข่ กว้าง 1.5-4 เซนติเมตร ยาว 3-7 เซนติเมตร ปลายมนหรือเว้าบุ๋ม ดอกออกเป็นช่อ ยาวประมาณ 3.5-5.5 เซนติเมตร กลีบดอกสีขาว หรือสีชมพู โคนเชื่อมเป็นหลอด ยาว 16-21.5 มิลลิเมตร ปลายแยกเป็นแฉก ผลรูปไข่ กว้าง 12-17 มิลลิเมตร ยาว 15-23 มิลลิเมตร สีแดง ชมพู หรือดำ
ลูกของมัน แรกๆจะเป็นสีขาว พอเริ่มสุกหน่อยจะมีสีแดงเหลื่อมๆขึ้นมา หากสุกเต็มที่จะมีสีแดงสดทั้งลูก และพอเริ่มแก่จะเป็นสีดำ
เริ่มมีสีแดงเหลื่อมๆ
ลูกที่มันเริ่มแก่ จะเป็นสีดำ โดยปกติแล้ว นิยมขยายพันธุ์พืชมะม่วงหาวมะนาวโห่ด้วยเมล็ด ซึ่งเมล็ดของพืชชนิดนี้มีอายุการเก็บรักษาที่สั้น ดังนั้นหลังจากแยกเมล็ดออกจากผลแล้วจึงควรเพาะพันธุ์เมล็ดทันที ซึ่งการเพาะปลูกนิยมทำในโรงเรือนช่วงเดือนสิงหาคม และทำการย้ายปลูกเมื่อต้นกล้าอายุได้ 1 ปี
สุกเต็มที่แล้ว จะเป็นสีแดงทั้งลูก
ประโยชน์ของมะม่วงหาวมะนาวโห่
- มะม่วงหาวมะนาวโห่มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยในการชะลอวัยและริ้วรอย (ผล)
- ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง (แก่น)
- แก้อาการอ่อนเพลีย เมื่อยล้า (เนื้อไม้)
- เพิ่มความกระชุ่มกระชวยให้กับร่างกาย (ผล)
- ช่วยให้เจริญอาหาร (ราก)
- มีส่วนช่วยลดความอ้วน (ผล)
- ช่วยขยายหลอดเลือดป้องกันการเกิดโรคหัวใจ (ผล)
- มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง (ผล)
- ธาตุเหล็กในผลมีส่วนช่วยรักษาโรคเบาหวาน (ผล)
- มีส่วนช่วยรักษาโรคโลหิตจาง (ผล)
- ช่วยรักษาโรคปอด (ผล)
- ช่วยรักษาโรคถุงลมโป่งพองจากการสูบบุหรี่ได้ดีมาก (ผล)
- ช่วยรักษาโรคไต (ผล)
- บรรเทาอาการของโรคตับ อย่างโรคตับแข็ง (ผล)
- ช่วยรักษาโรคเกาต์ (ผล)
- ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคไทรอยด์ (ผล)
- ช่วยป้องกันโรคไหลตาย (ผล)
- ในบังคลาเทศใช้ใบรักษาโรคลมชัก (ใบ)
- มีส่วนช่วยบรรเทาอาการของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต มือเท้าชา (ผล)
- ช่วยบำรุงกำลัง (เนื้อไม้)
- ช่วยบำรุงธาตุ (ราก, แก่น, เนื้อไม้)
- ช่วยบำรุงไขมันในร่างกาย (แก่น, เนื้อไม้)
- ช่วยแก้ไข้ รวมถึงไข้มาลาเลีย (ราก, ใบ)
- ช่วยดับพิษร้อน (ราก)
- ช่วยบรรเทาอาการของโรคภูมิแพ้ (ผล)
- ช่วยแก้และบรรเทาอาการไอ (ผล)
- ช่วยขับเสมหะ (ผล)
- มีส่วนช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ ไมเกรน
- แก้อาการเจ็บคอ เจ็บในปาก (ใบ)
- แก้อาการปวดหู (ใบ)
- ช่วยรักษาลักปิดลักเปิดหรือโรคเลือดออกตามไรฟัน สมานแผลในช่องปาก (ผล)
- ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร (ราก)
- แก้อาการท้องเสีย (ใบ)
- ช่วยรักษาโรคบิด (ใบ)
- ช่วยขับปัสสาวะ (ผล)
- ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร (ยอดอ่อน)
- ช่วยขับพยาธิ (ราก)
- ช่วยรักษาโรคเท้าช้าง (น้ำยาง)
- ช่วยฆ่าเชื้อ (ผล)
- ผลสุกใช้ในการสมานแผล (ผล, ยาง)
- ใช้รักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง (เปลือกต้น)
- ช่วยแก้อาการคัน (ราก)
- ในอินเดียใช้รากเพื่อรักษาแผลเบาหวาน (ราก)
- แก้กลากเกลื้อน (เมล็ด, น้ำยาง)
- แก้อาการเนื้อหนังชาในโรคเรื้อน (เมล็ด)
- ช่วยรักษาแผลเนื้องอก (น้ำยาง)
- ช่วยรักษาหูด (น้ำยาง)
- ช่วยทำลายตาปลาและช่วยกัดทำลายเนื้อที่ด้านเป็นปุ่มโต (น้ำยาง)
- ใช้พอกดับพิษ (ผล)
- ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามข้อ (ผล)
www.facebook.com/ontheway50
ตอบลบ